ในปี พ.ศ.2443 งานวิทยาการเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอสมเด็จ

พระเจ้าพี่ยาเธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (พระนามเดิมว่า พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์) เป็นพระราชโอรส

องค์ที่ 14 ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทราจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 กับเจ้าจอม

มารดาตลับ โดยในขณะนั้นทรงดำรงตำแหน่ง เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม โดยทรงตั้ง “กองพิมพ์ลายนิ้วมือ”

ขึ้นมาสำหรับตรวจลายนิ้วมือผู้ต้องหาในคดีอาญา อันเป็นจุดเริ่มต้นของการตรวจพิสูจน์ยืนยันตัวบุคคล

            พ.ศ.2444 จัดให้มีการพิมพ์ลายนิ้วมือของนักโทษที่จะพ้นโทษเก็บไว้ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการ

ยืนยันตัวบุคคลว่า ได้เคยกระทำความผิดมาก่อน ดังนั้นพระองค์จึงเปรียบเสมือน “บิดาวิชาพิมพ์ลายนิ้วมือ”

            พ.ศ.2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชโองการให้จัดวางโครงการตำรวจขึ้น

ใหม่ โดยเปลี่ยนชื่อกรมตำรวจภูธรเป็น กรมตำรวจ และได้ให้เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยจัดแบ่งแผนกงาน

รายย่อยตามความเหมาะสม ซึ่งได้มีการจัดแผนกวิทยาการอยู่ในสังกัด เป็นกองที่สามของตำรวจสันติบาล

            พ.ศ.2482 มีการขยายงานวิทยาการไปสู่ภูมิภาคเป็นครั้งแรก โดย พล.ต.ต.หลวงพิสิฐวิทยากร ได้

ขยายงานทะเบียนพิมพ์ลายนิ้วมือไปตั้งที่ภาคต่างๆ

                        เขตเหนือ                       ตั้งที่                  พิษณุโลก

                        เขตใต้                           ตั้งที่                  สงขลา

                        เขตตะวันออก                 ตังที่                  นครราชสีมา

                        เขตตะวันออกเฉียงเหนือ  ตั้งที่                  อุดรธานี

            พ.ศ. 2483 ได้มีการปรับปรุงและขยายงานของกรมตำรวจ ได้จัดตั้งกองบัญชาการตำรวจสอบสวน

กลาง และให้งานด้านวิทยาการขึ้นตรงกับกองบัญชากลางตำรวจสอบสวนกลาง

            พ.ศ.2500 องค์การบริหารวิเทศกิจ สหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย (U.S.O.M.) ได้ให้ความ

ช่วยเหลืองานด้านวิทยาการตำรวจ ตำรวจภูธร

            พ.ศ.2503 กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ได้ปรับปรุงหน่วยงานใหม่ โดยยุบ “กองวิทยาการ”

ออกงานสารบบทำเนียบราชการตำรวจและแยกงานของกองนี้ออกเป็น 2 กอง คือ กองพิสูจน์หลักฐาน และ

กองทะเบียนประวัติอาชญากร โดยขึ้นตรงต่อกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ตามพระราชกฤษฎีกา

แบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ ตั้งแต่ 13 กันยายน 2503

            พ.ศ.2509 ได้ขยายงานวิทยาการสู่ภูมิภาค โดยได้รับความช่วยเหลือจาก ยูซ่อม

            พ.ศ.2519 คำสั่งคณะปฎิรูปที่ 45 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2519 จัดตั้งกองตำรวจ๓ธรขึ้นในส่วนภูมิภาค

ตามจังหวัดต่างๆจำนวน 12 กองบังคับการ

            พ.ศ.2523 มีการจัดตั้งคณะทำงานปรับปรุงงานวิทยาการตำรวจ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถงาน

วิทยาการตำรวจในภูมิภาค

            พ.ศ.2532 คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบกำหนดตำแหน่งผู้บัญชาการประจำกรมตำรวจ (ทำหน้าที่

หัวหน้าสำนักงานวิทยาการตำรวจ) เพื่อทำหน้าที่ควบคุมบริหารงานของหน่วยงานวิทยาการทั้งหมด

            พ.ศ.2535 ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจใหม่ โดยรวมหน่วยงานด้านวิทยาการ

ตำรวจ ซึ่งได้แก่ กองพิสูจน์หลักฐาน กองทะเบียนประวัติอาชญากร และงานวิทยาการในส่วนภูมิภาค

ขึ้นป็น สำนักงานวิทยาการตำรวจ ซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากองบะญชาการ มี 7 กองบังคับการ คือ กองบังตับ

การอำนวยการ กองพิสูจน์หลักฐาน กองทะเบียนประวัติอาชญากร และกองวิทยาการ ภาค 1-4 โดย

แบ่งแยกการทำงานออกเป็นหน่วยงานย่อยในระดับ กองกำกับการเขต และวิทยาการจังหวัด

            วันที่ 1 กรกฎาคม 2548 ได้มี พ.ร.ฎ.แบ่งส่วนราชการใหม่ ให้ “สำนักงานวิทยาการตำรวจ” เปลี่ยน

ชื่อเป็น “สำนักงานนิติวิทยาศาสตร์ตำรวจ” มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทั้งระบบ มี 6 กองบังคับการคือ กอง

บังคับการอำนวยการ กองพิสูจน์หลักฐาน และกองวิทยาการ ภาค 1-4

            วันที่ 7 กันยายน 2552 ได้มี พ.ร.ฎ.แบ่งส่วนราชการใหม่ ให้ “สำนักงานนิติวิทยาศาสตร์ตำรวจ”

เปลี่ยนชื่อเป็น “สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ” มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทั้งระบบ ให้มีความสมบูรณ์

และมีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งให้สอดคล้องกับพื้นที่ของตำรวจภูธรภาคต่างๆ ประกอบด้วย กองบังคับ

การอำนวยการ กองพิสูจน์หลักฐานกลาง กองทะเบียนประวัติอาชญากร สถาบันฝึกอบรมและวิจัยการ

พิสูจน์หลักฐาน ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 1-10 ศูนย์ข้อมูลวัตถุระเบิด และกลุ่มงานพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล โดย

ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 2 ตั้งอยู่ที่ อาคารศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 2 ถนนโรงพระยาบาลเก่า ตำบลบางปลาสร้อย

อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 20000